เป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ได้รับพิษภัยจากสารเคมีเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย มีทั้งที่แสดงอาการแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
อาการเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายคนเราได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชรวดเดียวในปริมาณมาก ทำให้มีอาการได้ตั้งแต่ ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ท้องร่วง เป็นตะคริว หายใจติดขัด มองเห็นไม่ชัด ไปจนกระทั่งขั้นรุนแรง คือ เสียชีวิต
ส่วนแบบเรื้อรังเป็นภัยร้ายเงียบ ที่เรียกกันว่า “ตายผ่อนส่ง” จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวนไม่มาก แต่ได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
กว่าจะแสดงอาการ อาจใช้เวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี ส่งผลให้กลายเป็นหมัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และมะเร็ง โดยไม่รู้ตัว
จึงเหมือนเป็นการประจานให้เห็นถึงผลงานชิ้นโบดำ ของหลายหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้ว่า มัวทำอะไรกันอยู่ หรือถูกผลประโยชน์จากพ่อค้ายาฆ่าแมลงบังตา จึงปล่อยปละให้ผักผลไม้ที่มาจากเรือกสวน ไร่ นา ทั่วประเทศเวลานี้
แทบจะอาบไปด้วยสารพิษทั้งแผ่นดิน !
แม้เหล่า “เอ็นจีโอ” , ภาคประชาชน หรือแม้แต่หน่วยงานด้านการสาธารณสุขไทย จะออกมาเรียกร้องแทบปากฉีก ให้เลิกใช้ (แบน) หรือ “ลด” ปริมาณการนำเข้าสารเคมีพิษทางการเกษตร ให้น้อยที่สุด
แต่จนแล้วจนรอด หน่วยงานราชการไทยเกี่ยวกับภาคเกษตร ยังยืนกรานว่า การใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ยังจำเป็น ดี และมีประโยชน์
ซึ่งสวนทางกับกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องเสียงบประมาณดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีเหล่านี้
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อพิจารณาการจำกัดหรือยกเลิกการใช้วัตถุอันตราย ๓ รายการ คือ พาราควอต, คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ตามมติของ ๕ กระทรวงหลัก
ผลที่ออกมา คือ “ไม่ยกเลิก” แต่ให้จำกัดการใช้สารทั้ง 3 ชนิดแทน
ฟังแล้วเศร้าใจ เหตุผลของคณะกรรมการชุดนี้คือ
ข้อมูลผลกระทบทางด้านสุขภาพยังไม่เพียงพอ!
รู้หรือไม่ว่า ... ในแต่ละปี มีคนตายผ่อนส่งจากสารเคมีทางการเกษตรเท่าไหร่ ?
หมดเงินค่าหมอ ค่าพยาบาล ค่าทำศพ กันไปเท่าไหร่ ?
หรือต้องรอให้พวกท่านตายแล้วหมอชันสูตรว่า มาจากเหตุกินพืชผัก-เนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตร
ถึงจะสำนึกกันได้ !!!