ในประเทศไทยยังมีคนพิการจำนวนมากที่ตกหล่น ในจำนวนผู้ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ จากสถิติข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำตัวทุกภูมิภาค ในปี 2567 รวมทั้งสิ้น 2,273,981 คน (ข้อมูลประมวลผลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) มีเพียง 2 แสนกว่าคนที่มีงานทำ
คนพิการในในปัจจุบันมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ถูกมองว่าเป็นผู้เสมือนบุคคลไร้ความสามารถ ทำให้ต้องเผชิญความยากลำบากทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ดร.สิงห์คำ มณีจันสุข นายกสมคมคนพิการ จังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า หลังจากที่มี พ.ร.บ.ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการปี 2550 ก็ทำให้คนพิการมีโอกาสในสังคมมากขึ้น แต่ว่าความเข้าใจของสถานประกอบการในเรื่องของการจ้างงาน มาตรา 33 ที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้สถานประกอบการ ต้องมีการจ้างงานคนพิการในอัตราร้อยต่อหนึ่ง
ในทางปฏิบัติจริงสถานประกอบการต่างๆ ก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจ หรือยังไม่ได้ให้โอกาสคนพิการเท่าที่ควร เริ่มต้นเราจะเห็นได้จากโครงการพิเศษ การจ้างงานคนพิการของ บมจ.ซีพี ออลล์ ที่เปิดโอกาสให้คนพิการ ซึ่งกลุ่มแรกๆ จะเป็นกล่มของทหารผ่านศึกพิการที่ได้รับโอกาส หลังจากนั้นก็มีการขยายโอกาสมาถึงคนพิการประเภทอื่นๆ
การจ้างงานคนพิการ ยั่งยืนกว่าการบริจาค ยกตัวอย่างใน จ.สมุทรปราการ เราได้รับการให้โอกาสในการเข้าสู่ระบบการจ้างงานของบริษัทตามมาตรา 33 ซึ่งแน่นอน เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของคนพิการที่ได้รับโอกาส ซึ่งเดิมจะไม่มีรายได้และเป็นภาระของคนในครอบครัวที่ต้องดูแลเลี้ยงดู แต่ปัจจุบัน หลังจากที่มีโอกาสเข้ามาร่วมในโครงการจ้างงานพิเศษ ของ “ซีพี ออลล์” แล้ว ทำให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้น มีรายได้ มีหน้ามีตาในสังคม สามารถที่จะออกไปมีกิจกรรมร่วมกับสังคมได้ โดยไม่ติดขัด ไม่ขัดสนเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
รูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมทำให้คนพิการได้ใช้ทักษะฝีมือ และความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ และมีความสุขกับการทำงาน สร้างคุณค่าและยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยศักยภาพของตนเอง
นายพีระพัฒน์ สนิทเชื้อ คนพิการทางด้านสายตา ทำงานประจำเป็นหมอนวดประจำของอาจารย์มเหศักดิ์ วงนอก ที่นวมินทร์ และได้ทำงานบริการนวดที่ซีพี ออลล์ ทุกวันพุธ โดยให้บริการวันละ 6 คน บอกความรู้สึกว่า “ดีใจที่ทางซีพี ออลล์ ได้มีการจ้างงานพวกเราซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา มีความสุขกับการทำงาน เดินทางไม่ลำบาก ก่อนหน้านี้ก็ทำที่ขอนแก่นที่บ้านเกิด อยากให้ทางบริษัทต่างๆ ได้มีการจ้างงานคนพิการ เพราะสมัยนี้พวกเราเป็นผู้มีความสามารถแตกต่างจากสมัยก่อนซี่งสังคมมองว่าเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ”
ร้อยเอก นิตย์ชาญ สุปิยะ นายกสมาคมสหภาพคนตาบอดในประเทศไทยเพื่อการสร้างงานสร้างอาชีพ กล่าวว่า “ทางซีพี ออลล์ ได้ให้โอกาสคนพิการทุกๆ ประเภท ซึ่งทางสมคมศิษย์เก่าศูนย์ฝึกอาชีพ และพัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดเองก็ได้รับโอกาสในการจ้างงานให้กับผู้พิการได้ทำงานตามมาตรา 35 เป็นการจ้างเหมาบริการการนวด ทำให้คนพิการมีความสุขเพราะได้นำความรู้ความสามารถที่ได้เรียนนวดมานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผู้มารับบริการก็ได้รับความสุขจากการนวด ส่วนผู้พิการเองก็มีรายได้เอาไปใช้จ่ายในครอบครัว ถือว่าเป็นโครงงการที่ดี”
ส่วนใหญ่ที่ส่งคนมาทำงานก็ได้รับคำตอบจากหมอนวดเองได้รับความสะดวกสบายเป็นกันเองทำงานด้วยความสบายใจ อยากให้สถานประกอบการต่างๆ ทั่วไปเปิดโอกาสในการจ้างงานคนพิการ ไม่ว่าในมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือจะเป็นการจ้างเหมาบริการซึ่งความพิการของคนพิการแต่ละประเภทจะมีข้อจำกัด ส่วนคนพิการทางการมองเห็นจะเป็นการให้บริการการนวดแผนไทย
เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่ “ซีพี ออลล์” เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้มีการจ้างคนพิการในระบบ ตามมาตรา 33 และมาตรา 35 ประกอบด้วยคนพิการประเภทต่างๆ อาทิ คนพิการทางการเคลื่อนไหว คนพิการทางสายตา คนพิการทางออทิสติก คนพิการทางจิตเวช และคนพิการทางการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้นกว่า 1,047 คน ตามปณิธานองค์กร “Giving and Sharing”